วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มารู้เรื่อง "น้ำ" กันดีกว่า


70% ของร่างกายประกอบด้วย "น้ำ" ซึ่งทำหน้าที่ละลายวิตามินและแร่ธาตุ ช่วยนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผนังอวัยวะในร่างกาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิ รักษาระดับความเข้มข้นของสารละลายต่างๆ เพื่อให้อวัยวะทุกส่วนทำงานปกติ

กระบวนการผลิตน้ำดื่มสะอาด
โดยแยกหรือสลายหรือกรองความสกปรกออกจากน้ำ ดังนี้
  • ความขุ่น ทำให้น้ำไม่น่าดื่ม สามารถใช้ความละเอียดของเครื่องกรองน้ำกรองแยกออก หรือพักรอให้ตกตะกอนเอง
  • ความกระด้าง คือความเข้มข้นของอนุมูลโลหะที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายโดยตรง เช่น แคลเซียม, แมกนีเซียม แต่จะมีผลต่อรสชาติของน้ำ ทำให้เกิดตะกรันในระบบท่อส่งน้ำ และอาจทำให้เกิดนิ่วสำหรับผู้ดื่มเป็นประจำ
  •      - ค่ามารถฐานสูงสุดของความกระด้างของน้ำดื่มเท่ากับ 500มก/ลิตร
  •      * การแก้ความกระด้างในน้ำ นิยมทำโดยการกรองด้วยสารกรองเรซิน
  • คลอรีน ในการผลิตน้ำประปาในประเทศไทย นิยมใช้คลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อโรค ซึ่งกลุ่มประเทศยุโรปได้ประกาศเลิกใช้คลอรีนในกระบวนการผลิตอาหารและน้ำประปาโดยเด็ดขาด เนื่องจากเมื่อคลอรีนทำปฏิกิริยากับสารละลายหลายชนิดในน้ำ มีผลทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง
  •      * การแยกคลอรีนออกจากน้ำ ทำได้โดยการกรองด้วยผงถ่านกัมมันต์
  • เชื้อโรค โรคติดต่อทางน้ำดื่มส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น อหิวาฯ โดยเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า "โคลิฟอร์มแบคทีเรีย"
  •      * การทำลายเชื้อโรค นิยมใช้ระบบฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มด้วยโอโซน
  • เหล็กและแมงกานีส ธาตุเหล็กและแมงกานีสในน้ำจะทำให้น้ำมีสี มีรสไม่น่าดื่ม ทำให้เกิดคราบสนิม หากใช้น้ำนั้นซักผ้าจะทำให้เกิดคราบติด
  •      มาตรฐานน้ำดื่มกำหนดค่าสูงสุดของเหล็กไว้ที่ 0.5 มก./ล.
  •      มาตรฐานน้ำดื่มกำหนดค่าสูงสุดของแมงกานีสไว้ที่ 0.3 มก./ล.
  •      * การแยกเหล็กและแมงกานีสออกจากน้ำ ทำได้โดยการเติมอากาศแล้วทิ้งให้ตกตะกอนหรือกรองด้วยสารกรองซีโอไลท์ ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับอิออนของเหล็กและแมงกานีส
  • สารโลหะหนักที่เป็นพิษ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนแม้ได้รับในปริมาณน้อย เช่น ตะกั่ว, ปรอท, สารหนู, แคดเมียม
  •      มาตรฐานน้ำดื่มกำหนดค่าสูงสุดของตะกั่วไว้ที่ 0.05 มก./ล.
  •      มาตรฐานน้ำดื่มกำหนดค่าสูงสุดของปรอทไว้ที่ 0.002 มก./ล.
  •      มาตรฐานน้ำดื่มกำหนดค่าสูงสุดของสารหนูไว้ที่ 0.05 มก./ล.
  •      มาตรฐานน้ำดื่มกำหนดค่าสูงสุดของแคดเมียมไว้ที่ 0.01 มก./ล.
  •      * กรณีน้ำดื่มมีการปนเปื้อนของโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน ควรหลีกเลี่ยงการนำน้ำมาผลิตเป็นเครื่องดื่ม หรือใช้ระบบกรอง RO.(Reverse Osmosis) ซึ่งสามารถกรองละลายโลหะในน้ำออกได้ทั้งหมด
ขอบคุณข้อมูลจาก www.winkintergroup.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น